วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551

วัสดุที่มาแทนกระดาษ

เมื่อสิบปีที่แล้วมา (ปี 2543) ใกล้กับปี 2000 ได้มีโอกาสอ่านบทความหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัสดุที่จะนำมาใช้แทนกระดาษ ด้วยความที่ยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องเหล่านี้ ก็เกิดคำถามอยู่ในใจเสมอว่า มันคงจะเป็นไปได้ยาก คำที่ตอนนั้นถือว่า ใหม่มากก็คือ paperless, สำนักงานไร้กระดาษ และคำว่า office automation, internet, intranet คำเหล่านี้ ได้ผ่านหูผ่านตามากเช่นกัน หรือคำว่า virtual office ถือว่าใหม่สุดๆ ในช่วงนั้น สำหรับคนทำงานในสำนักงานเกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์น้อย ตอนนั้น หลายๆ สาเหตุที่สนับสนุนว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ

1. เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะทันสมัย เพราะถ้าจะใช้ก็ต้องไปเรียนรู้ใหม่โดยการฝึกอบรมจากผู้ที่มีความรู้ทั้งหลาย และต้องเป็นผู้ที่ชำนาญเฉพาะคอมพิวเตอร์เท่า
นั้น

2. ราคาแพง เมื่อเทียบเท่ากับอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ เช่น ราคาเครื่องพิมพ์ดีดประมาณ 7-8 พัน แต่คอมพิวเตอร์ประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท และคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะต้องเป็นเครื่องกลางที่ใครจะใช้ก็ได้ ของส่วนรวม

3. การใช้ค่อนข้างจะยุ่งยาก โปรแกรมต่างๆ มีคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาไทยก็เข้าใจได้ยากและผู้ให้ความรู้ในระยะแรกๆ ก็จะเน้นคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษสับสนระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้ความรู้ กว่าจะจูนกันได้

4. คิดเสมอว่า อุปกรณ์เหล่านี้ เด็กๆ เท่านั้นที่จะใช้ได้และหัวไวกว่า ก็เลยกลายเป็นว่า ผู้ใหญ่จะอายเด็กหรืออย่างไรไม่ทราบ จึงไม่กล้าแตะเครื่องเหล่านี้ กลายเป็นว่า ระดับนี้แล้วไม่น่าจะใช้ขอแค่ สั่ง เรียกว่า แก่สั่งได้ (เคยได้ยินมีแต่ สวยสั่งได้)



paper



5. โอกาสในการเลือกยี่ห้อมีไม่กี่ยี่ห้อ ถ้าหน่วยงานราชการจะได้รับเครื่องที่ค้างสต็อกกว่าจะทำการประมูลหรือสอบราคาใหม่ได้ ก็ยากเย็นในตอนนั้น

6. ยังไม่มีระบบรองรับการทำงานทั้งหมด เช่น การส่งจดหมายก็ยังมีอยู่เป็นปกติ ระบบ online คืออะไร ไม่เข้าใจ อีเมลหรือใครมีก็แปลกหล่ะ

7. คนที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีนั้นมีน้อย ดังนั้น การจะตัดสินใจในการนำเครื่องมืออุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ได้ จะต้องมีใครสักคนเข้าใจและสื่อสารกับหน่วยงานหรือบริษัทที่จัดจำหน่ายหรือบริการได้พอสมควร

8. การบริการหลังการขายก็จำกัดด้วยตัวบุคลากรและจำนวนของบริษัทที่ดูแลเรื่องนี้

9. เครื่องใช้พิมพ์หนึ่งเครื่องจะใช้ร่วมกันได้อย่างไร ยุ่งตายเลย ของใครของมัน (ของของข้าใครอย่าแตะ)

จากเหตุผลประกอบข้างต้น ผู้เขียนก็เลยเหมารวมว่า ระบบนี้จะเกิดขึ้นยากภายในเวลาแค่ไม่ถึง 10 ปี อย่างไรเสียสำนักงานก็ต้องมีกระดาษอยู่ดี เผลอๆ อาจจะต้องใช้มากกว่าเดิมเพราะ หาข้อมูลมาง่ายแล้วก็เอามาพิมพ์ในสำนักงานของเราได้เอง เพิ่มจำนวนการผลิตเอกสารการตัดต้นไม้เพื่อนำมาผลิตและจะยังสารเคมีที่ใช้สำหรับฟอกขาวกระดาษเหล่านั้นอีกและทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดโลกร้อน (ว่ากันไปถึงโน้น) แต่มาถึงวันนี้หล่ะเกิดอะไรขึ้น



paper



1. ภาพที่ใครๆ ก็ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เพียงแต่คุณสามารถพิมพ์ดีดหรือจิ้มดีดได้ รวมถึงการคลิกเป็น ไม่ว่าจะใช้เม้าท์ หรือคลิกด้วยวัสดุอย่างอื่นแทน

2. ภาพที่ทุกโต๊ะทำงานมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ใช้เฉพาะบุคคล ที่เรียกว่า pc (personal computer) นั้นเป็นจริง เครื่องของใครก็ของใคร ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน มองดูคล้ายกับว่า ถ้าไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว คนสำนักงานเหล่านี้จะทำอะไร

3. ภาพของเครื่องพิมพ์ ที่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยมีระบบเชื่อมต่อที่กลายเป็นของธรรมดาที่ไหนๆ เขาก็มีกัน

4. ภาพของการ shared ทุกอย่างไว้ในระบบ การตรวจสอบทำได้ง่าย ถ้าหน่วยงานคิดจะทำว่า ตกลงมีเครื่องมีระบบแล้วใช้กับงานจริงๆ หรือแอบ แชท เล่นเกม โหลดหนัง ฟังเพลง

5. ภาพของการติดต่อสื่อสารจากหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยระบบ online ทำให้งานบางอย่างไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปติดต่ออีก

6. ภาพของคลังข้อมูลข่าวสารทั่วโลก ที่สามารถเสาะหาได้เพียงแค่ปลายนิ้ว “คลิก” ต้องการข้อมูลอะไรเสาะแสวงหาได้ใน search engine ไม่นับรวมบุคคลที่มีจิตสาธารณะที่ช่วยเสาะหาข้อมูลเฉพาะงานเฉพาะเรื่องตามเว็บไซต์ต่างๆ

7. ภาพจำนวนจดหมายที่ได้รับจากบุรุษไปรษณีย์ลดลง จนตอนนี้ไปรษณีย์ก็ปรับลุคของตัวเองใหม่ มีบริการต่างๆ ที่หลากหลาย ใครจะไปคิดว่า โทรเลขจะหายไปในที่สุด ลองถามเด็กอายุต่ำกว่ายี่สิบตอนนี้ คงจะทำท่างงๆ ว่า โทรหาเลขหวยหรือเปล่า ไอ้เจ้า โทรเลขเนี่ยะ




paper



และสุดท้ายที่จะกล่าวถึงว่า สิ่งที่จะมาแทนกระดาษ นั้นมีจริง มันไม่ใช่พลาสติก แก้ว สิ่งทอ แต่เป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้เสียแล้ว และมันกลายเป็นอะไรหล่ะ ที่เราได้ยินบ่อยครั้งที่สุดในตอนนี้ เขาเรียกว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ถ้าต้องการเมื่อไรก็เพียงแต่ใช้ปลายนิ้ว “คลิก” และไม่น่าแปลกใจถ้าจะคิดต่อไปอีกว่า ไม่น่าจะเกินจากนี้ไปเท่าไร อาจจะไม่ใช้ปลายนิ้วคลิก แล้วมันจะเป็นอะไร หรือจะมีคำใหม่ที่มาแทนคำว่า Click หรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ชวนติดตามกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: